คำขวัญตำบลสันป่าม่วง
” หัตถกรรมผักตบชวา งามสง่าดอยบุษราคัม เย็นฉ่ำน้ำตกขุนต๋อม
พลั่งพร้อมผักปลอดสารพิษ “
วิสัยทัศน์การพัฒนา
“ประชาชนเป็นศูนย์กลาง โครงสร้างพื้นฐานพร้อม สิ่งแวดล้อมน่าอยู่
มุ่งสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน”
พันธกิจ ( Mission)
- พัฒนา ส่งเสริม และสนับสนุนการสร้างงาน สร้างรายได้และการลงทุนที่ก่อให้เกิดการกระจายรายได้สู่ท้องถิ่น
- พัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนทุกกลุ่มวัย เพื่อเตรียมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
- จัดให้มี ส่งเสริม และพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐานการสาธารณูปโภค และสาธารณูปการต่างๆ อย่างเพียงพอและทั่วถึง
- พัฒนา และส่งเสริมศักยภาพของชุมชนให้เป็นสังคมที่สงบสุข น่าอยู่ และยั่งยืน สามารถช่วยเหลือตนเอง ครอบครัว และสังคม
- พัฒนาการบริหารจัดการองค์กรให้มีประสิทธิภาพ มีความโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ ประชาชน มีส่วนร่วมทางการเมือง โดยยึดหลักธรรมาภิบาล
- อนุรักษ์ พัฒนา และส่งเสริม การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้มีความสมบูรณ์และยั่งยืน
- ส่งเสริม สนับสนุน การอนุรักษ์ ฟื้นฟู ศิลปวัฒนธรรมประเพณี และภูมิปัญญาในท้องถิ่น
ยุทธศาสตร์การพัฒนา
เทศบาลตำบลสันป่าม่วงได้กำหนดยุทธศาสตร์ในการพัฒนาตำบลทั้งในด้านเศรษฐกิจสังคมและวัฒนธรรม ให้ครอบคลุมและสอดคล้องกับแนวทางการพัฒนา โดยกำหนดยุทธศาสตร์และแนวทางพัฒนา ไว้ดังนี้
ยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาสาธารณสุขและการกีฬา
แนวทางการพัฒนา
1.1 ส่งเสริมการดําเนินงานดำนสาธารณสุขมูลฐาน และเสริมสร้างสุขภาวะที่ดีให้กับ ประชาชน ตลอดจนการสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จําเป็นในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า (โควิด-19) เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนให้มีสุขภาพที่ดี
1.2 ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีสถานที่สําหรับการออกกําลังกายและแข่งขันกีฬา
1.3 ส่งเสริมสุขภาพอนามัยและนันทนาการ
1.4 ส่งเสริมการจัดให้มีสวนสาธารณะหรือสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ
1.5 ส่งเสริมและสนับสนุนการกีฬาทุกชนิด ตลอดจนสนับสนุนการจัดการแข่งขันกีฬาในทุกระดับ
1.6 เสริมสร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายอาสาสมัครสาธารณสุขประจําหมู่บ้าน ในการช่วยเหลือ ด้านสาธารณสุขพื้นฐานในชุมชน
ยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนาเศรษฐกิจและการทjองเที่ยว
แนวทางการพัฒนา
2.1 ส่งเสริมใหhประชาชนนhอมนําปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวทางในการดําเนินชีวิต
2.2 ส่งเสริมการพัฒนาและปรับปรุงภูมิทัศน์แหล่งท่องเที่ยวให้สวยงาม และประชาสัมพันธ์ให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น ตลอดจนจัดให้มีระบบข้อมูลเพื่อการจัดการท่องเที่ยวอย่างเป็นระบบ
2.3 พัฒนาและส่งเสริมอาชีพ ให้แก่ เยาวชน ประชาชน ผู็สูงอายุ กลุ่มแม่บ้าน กลุ่มอาชีพและกลุ่มองค์กรต่าง ๆ ตลอดจนผู้ด้อยโอกาส เพื่อให้มีความรู้ในการประกอบอาชีพและเพิ่มรายได้ให้แก่ครอบครัวมากขึ้น
2.4 ส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ วัฒนธรรม และการพัฒนาการบริการและการท่องเที่ยวที่มีคุณภาพ
2.5 ส่งเสริมการเกษตรผสมผสานและเกษตรอินทรีย์ เพื่อให้ผลผลิตทางการเกษตรปลอดภัยจากสารพิษ
2.6 ส่งเสริมและพัฒนาสินค้าหนึ่งตําบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) งานฝีมือ และหัตถกรรมให้เป็นสินค้าที่มีคุณภาพ
ยุทธศาสตร์ที่ 3 พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
แนวทางการพัฒนา
3.1 พัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการอุปโภค – บริโภค และการเกษตรอย่างพอเพียงและทั่วถึง เป็นระบบลุ่มน้ำพร้อมจัดทําแผนที่น้ำอย่างครอบคลุมทุกพื้นที่
3.2 สนับสนุนและช่วยเหลือผู้ประสบปัญหาภัยแล้งและขาดแคลนน้ำ
3.3 ส่งเสริมให้มีระบบการคมนาคม และการขนส่งที่เชื่อมต่อระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นให้ได้มาตรฐาน เพื่อให้การคมนาคมและการขนส่งสินค้ามีความสะดวกรวดเร็ว และกระจายความเจริญไปทุกพื้นที่
3.4 สนับสนุนด้านเทคนิค วิชาการ เครื่องมือ เครื่องจักรกลและบุคลากร ในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาโครงสร้างพื้นฐานให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและหน่วยงาน อื่น ๆ
3.5 ส่งเสริมการวางผังการใช้ที่ดินให้เป็นระบบ และการจัดการใช้ที่ดินอย่างเหมาะสม โดยการสนับสนุนให่มีการจัดทําผังเมืองรวม เพื่อวางแนวทางการพัฒนาเมืองและชุมชนให่มีระเบียบรองรับการขยายตัวของชุมชนในอนาคต
ยุทธศาสตร์ที่ 4 พัฒนาสังคม การศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
แนวทางการพัฒนา
4.1 ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตแกjเด็ก สตรี ผูhสูงอายุ และผู้ด้อยโอกาส หรือ ศูนย์สามวัย ครอบคลุมทุกตําบลและการจัดสวัสดิการสังคมต่าง ๆ เพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
4.2 ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษา เพื่อเพิ่มโอกาสการเรียนรู้อย่างทั่วถึงอย่างต่อเนื่องทั้งในและนอกระบบ
4.3 ส่งเสริมการอนุรักษ์และฟื้นฟูศิลปะ จารีตประเพณี ขนบธรรมเนียมประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่นให้คงอยู่สืบต่อไป
4.4.การทํานุบํารุงศาสนาและส่งเสริมวัฒนธรรมอันดีงามของท้องถิ่น
4.5 สนับสนุนและส่งเสริมงานด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ตลอดจนแก้ไขปัญหาเด็กและเยาวชนในกลุ่มเสี่ยง และการแก้ไขปัญหาสังคมในด้านต่าง ๆ
4.6 สนับสนุนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
4.7 สนับสนุนการป้องกันปัญหาอาชญากรรมและการจราจร เพื่อสร้างความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
ยุทธศาสตร์ที่ 5 พัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
แนวทางการพัฒนา
5.1 ส่งเสริมการสร้างจิตสํานึกของประชาชน เด็กและเยาวชนในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
5.2 ส่งเสริมการจัดการสิ่งแวดล้อมและมลพิษต่าง ๆ ที่มีผลต่อสุขภาพอนามัยและคุณภาพชีวิตของประชาชน
5.3 ส่งเสริมและสนับสนุนการแก้ไขปัญหาน้ำเน่าเสีย
5.4 ส่งเสริมการดูแลและบํารุงรักษาป่าไม้ ที่ดิน โดยการปลูกป่าทดแทนและรักษาสภาพแวดล้อมของแหล่งต้นน้ำลําธาร
5.5 ส่งเสริมการประหยัดพลังงานและการรณรงค์แก้ไขปัญหาภาวะโลกร้อน
ยุทธศาสตร์ที่ 6 พัฒนาการเมืองการบริหาร
แนวทางการพัฒนา
6.1 ใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการเพื่อให้องค์กรมีความโปร่งใส ตรวจสอบได้ และประชาชนได้ประโยชน์สูงสุด
6.2 ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนทุกภาคส่วนในการบริหารงาน การตรวจสอบติดตามประเมินผลการปฏิบัติงานและการป้องกันการทุจริต
6.3 เสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนให้สามารถพึ่งพาตนเองได้ ตลอดจนส่งเสริมการจัดให้มีสถานที่สําหรับประชุม อบรมและจัดกิจกรรมต่าง ๆ
6.4 ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน ผู้นําชุมชน ผู้นํา ท้องถิ่น กลุ่มองค์กรต่าง ๆ ในการพัฒนาท้องถิ่นเพื่อให้เกิดเป็นเครือข่ายความร่วมมือ ตลอดจนประสานการจัดทําแผนพัฒนาท้องถิ่น เพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหาและตอบสนองความต้องการของประชาชนได้อย่างแท้จริง
6.5 พัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถและประสบการณ์เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ
6.6 เสริมสร้างความรู้เกี่ยวกับประชาธิปไตย สิทธิและหน้าที่ของพลเมืองและการเลือกตั้ง เพื่อให้การพัฒนาท้องถิ่นเป็นไปตามเจตนารมณ์ของประชาชน
6.7 การรณรงค์ปกป้องสถาบันชาติ ศาสนาและพระมหากษัตริย์ ตลอดจนการเสริมสร้างความสมานฉันท์
6.8 การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารและประชาสัมพันธ์ผลการดําเนินงาน ให้ประชาชนได้รับทราบอย่างทั่วถึง